AscendEX ได้รวบรวมคำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับขั้นตอนการใช้สินทรัพย์สเตกกิ้งเป็นหลักประกันการซื้อขายฟิวเจอร์ส หากคุณพบปัญหาการใช้งานโปรดอ่านคำถามที่พบบ่อยเพื่ออ้างอิงวิธีการแก้ปัญหา

 

1.สินทรัพย์ใดสามารถใช้เป็นมาร์จิ้นฟิวเจอร์สขณะสเตกกิ้งได้

ปัจจุบัน AscendEX รองรับการนำสินทรัพย์ที่สเตกกิ้งไว้มาใช้เป็นหลักประกันสำหรับการซื้อขายฟิวเจอร์สทั้งหมด 16 สินทรัพย์ ได้แก่ USDT, BTC, ETH, USDC, ATOM, DOT, XTZ, KAVA, BAND, SRM, ONE, CSPR, XPRT, PORT, AKT, WOO และจะเพิ่มการรองรับสินทรัพย์อื่นในเร็ว ๆ นี้ กรุณาเข้าสู่หน้า AscendEX สเตกกิ้ เพื่อดูรายละเอียดเพิ่มเติม

 

 2.สินทรัพย์สเตกกิ้งทั้งหมดสามารถใช้เป็นมาร์จิ้นฟิวเจอร์สได้หรือไม่

ไม่ได้ จำนวนของสินทรัพย์สเตกกิ้งที่สามารถใช้เป็นหลักประกันสำหรับการซื้อขายฟิวเจอร์สนั้นถูกผูกไว้กับปัจจัยส่วนลดของฟิวเจอร์สที่จะซื้อขายกับสินทรัพย์สเตกกิ้ง กล่าวคือ หลักประกัน = สินทรัพย์ * ราคาดัชนี * ปัจจัยส่วนลด หรืออธิบายเพิ่มเติมได้ว่า ผลรวมของปริมาณสินทรัพย์สเตกกิ้งและผลตอบแทนจากการสเตกกิ้งที่สามารถใช้เป็นมาร์จิ้นฟิวเจอร์ส = สินทรัพย์สเตกกิ้ง (รวมผลตอบแทนจากการสเตกกิ้ง) * ราคาดัชนีของสินทรัพย์ * ปัจจัยส่วนลด โปรดทราบ: หลักประกันที่สามารถใช้สำหรับการซื้อขายฟิวเจอร์ส คือสินทรัพย์ที่ถูกโอนไปยังบัญชีฟิวเจอร์สและคำนวณด้วยค่าส่วนลดในรูป USDT แล้ว

 

3.ผลตอบแทนจากการสเตกกิ้งสามารถใช้เป็นมาร์จิ้นฟิวเจอร์สได้หรือไม่

ได้ หากผู้ใช้โอนสินทรัพย์สเตกกิ้งไปยังบัญชีฟิวเจอร์สเพื่อใช้เป็นมาร์จิ้นฟิวเจอร์ส ผลตอบแทนจากการสเตกกิ้งของผู้ใช้ก็จะถูกโอนไปยังบัญชีฟิวเจอร์สโดยอัตโนมัติเพื่อเป็นหลักประกันการซื้อขายฟิวเจอร์ส อย่างไรก็ตาม โทเคนที่เป็นผลตอบแทนจากการสเตกกิ้งของบางโครงการจะแตกต่างจากสินทรัพย์สเตกกิ้ง ในบางสถานการณ์จะมีโทเคนที่เป็นผลตอบแทนหลายรายการสำหรับการสเตกกิ้งโครงการเดียว ผู้ใช้ควรทราบว่าโทเคนที่เป็นผลตอบแทนจากการสเตกกิ้งรองรับการใช้เป็นหลักประกันสำหรับการซื้อขายฟิวเจอร์สหรือไม่ หากโทเคนที่เป็นผลตอบแทนจากการสเตกกิ้งไม่รองรับการใช้งานเป็นมาร์จิ้นฟิวเจอร์ส ส่วนของโทเคนที่เป็นผลตอบแทนจะไม่สามารถใช้เป็นหลักประกันสำหรับมาร์จิ้นฟิวเจอร์สได้ ตัวอย่างเช่น SRM รองรับการใช้งานเป็นมาร์จิ้นฟิวเจอร์สในขณะสเตกกิ้ง และโทเคนรางวัลสำหรับการสเตกกิ้ง SRM คือ SRM และ SRMLCK เนื่องจาก SRMLCK ไม่รองรับการใช้เป็นมาร์จิ้นฟิวเจอร์ส ส่วนของผลตอบแทนการสเตกกิ้งที่เป็น SRMLCK จึงไม่สามารถใช้เป็นหลักประกันสำหรับมาร์จิ้นฟิวเจอร์สได้ 

โปรดทราบ: ปัจจุบัน AscendEX รองรับการนำสินทรัพย์ที่สเตกกิ้งไว้มาใช้เป็นหลักประกันสำหรับการซื้อขายฟิวเจอร์สทั้งหมด 16 สินทรัพย์ ซึ่งมีเพียง SRM เท่านั้นที่มีโทเคนที่เป็นผลตอบแทนสองประเภท คือ SRM และ SRMLCK โดยประเภทหลังไม่รองรับการใช้เป็นหลักประกันของมาร์จิ้นฟิวเจอร์ส นอกจาก SRM แล้ว สินทรัพย์สเตกกิ้งอื่น ๆ ทั้งหมดรองรับการใช้โทเคนผลตอบแทนเป็นหลักประกันในการซื้อขายฟิวเจอร์ส

 

4.ผลตอบแทนจากการสเตกกิ้งจะถูกแจกจ่ายอย่างไรหลังจากใช้สินทรัพย์สเตกกิ้งเป็นมาร์จิ้นฟิวเจอร์ส

หลังจากที่สินทรัพย์สเตกกิ้งถูกใช้เป็นมาร์จิ้นฟิวเจอร์ส และโทเคนที่เป็นผลตอบแทนก็รองรับการใช้เป็นหลักประกันสำหรับการซื้อขายฟิวเจอร์ส ส่วนของผลตอบแทนการสเตกกิ้งของโทเคนจะถูกแจกจ่ายไปยังบัญชีฟิวเจอร์สของผู้ใช้ ซึ่งผู้ใช้สามารถดูรายละเอียดเกี่ยวกับผลตอบแทนของตนเองได้ในบัญชีฟิวเจอร์ส หากสินทรัพย์ของผู้ใช้ไม่รองรับการใช้งาน ส่วนของผลตอบแทนจากการสเตกกิ้งโทเคนที่ไม่รองรับการใช้งานเป็นหลักประกันจะถูกแจกจ่ายไปยังบัญชีการลงทุนของผู้ใช้ ซึ่งผู้ใช้สามารถดูรายละเอียดเกี่ยวกับผลตอบแทนได้ในบัญชีการลงทุนโดยตรง

ตัวอย่างเช่น SRM รองรับการใช้งานเป็นมาร์จิ้นฟิวเจอร์สในขณะสเตกกิ้ง และโทเคนรางวัลสำหรับการสเตกกิ้ง คือ SRM และ SRMLCK เนื่องจาก SRM รองรับการเป็นมาร์จิ้นฟิวเจอร์ส ส่วนของผลตอบแทนจากการสเตกกิ้งในรูป SRM จะถูกแจกจ่ายไปยังบัญชีฟิวเจอร์สของผู้ใช้ ในขณะที่ส่วนของผลตอบแทนจากการสเตกกิ้งในรูป SRMLCK จะถูกแจกจ่ายไปยังบัญชีการลงทุนของผู้ใช้ เนื่องจาก SRMLCK ไม่รองรับการใช้เป็นหลักประกันสำหรับมาร์จิ้นฟิวเจอร์ส 

โปรดทราบ: ปัจจุบัน AscendEX รองรับการนำสินทรัพย์ที่สเตกกิ้งไว้มาใช้เป็นหลักประกันสำหรับการซื้อขายฟิวเจอร์สทั้งหมด 16 สินทรัพย์ ซึ่งมีเพียง SRM เท่านั้นที่มีโทเคนที่เป็นผลตอบแทนสองประเภท คือ SRM และ SRMLCK โดยประเภทหลังไม่รองรับการใช้เป็นหลักประกันของมาร์จิ้นฟิวเจอร์ส ซึ่งหมายความว่าส่วนของผลตอบแทนจากการสเตกกิ้งในรูป SRMLCK จะแจกจ่ายไปยังบัญชีการลงทุนของผู้ใช้ นอกจาก SRM แล้ว สินทรัพย์อื่น ๆ ทั้งหมดรองรับการใช้โทเคนผลตอบแทนเป็นหลักประกันในการซื้อขายฟิวเจอร์ส ซึ่งหมายความว่าผลตอบแทนจากการสเตกกิ้งสินทรัพย์จะถูกแจกจ่ายไปยังบัญชีฟิวเจอร์สของผู้ใช้

 

5.สินทรัพย์สเตกกิ้งกับสินทรัพย์ปกติมีความแตกต่างกันในด้านปัจจัยส่วนลดในขณะที่ใช้เป็นมาร์จิ้นฟิวเจอร์สหรือไม่ แล้ววิธีการดูปัจจัยส่วนลดทำได้อย่างไร

ไม่ การถอนคืนสินทรัพย์สเตกกิ้งแบบทันทีจะมีค่าธรรมเนียมที่จะถูกเรียกเก็บจากบัญชี ซึ่งจะส่งผลถึงปัจจัยส่วนลดสำหรับสินทรัพย์สเตกกิ้งในขณะที่ใช้เป็นมาร์จิ้นฟิวเจอร์ส ดังนั้น จึงส่งผลให้จำนวนโทเคนของสินทรัพย์สเตกกิ้งและสินทรัพย์ปกติแตกต่างกันเล็กน้อยในแง่ของปัจจัยส่วนลดในขณะที่ใช้เป็นมาร์จิ้นฟิวเจอร์ส โปรดเข้าสู่หน้าข้อมูลหลักประกันเพื่อดูปัจจัยส่วนลดของสินทรัพย์สเตกกิ้ง  

 

6.วิธีดำเนินการเพื่อใช้สินทรัพย์สเตกกิ้งเป็นมาร์จิ้นฟิวเจอร์ส

เปิดหน้าสินทรัพย์สเตกกิ้งของฉัน เลือกโทเคนในรายการสินทรัพย์สเตกกิ้งที่คุณต้องการใช้เป็นมาร์จิ้นฟิวเจอร์ส และคลิกเพื่อโอนสินทรัพย์สเตกกิ้งที่เลือกไว้ซึ่งแสดงเป็น “Token-S” จากบัญชีการลงทุนไปยังบัญชีฟิวเจอร์ส หลังจากการโอนเสร็จสิ้น ผู้ใช้สามารถซื้อขายฟิวเจอร์สโดยใช้สินทรัพย์สเตกกิ้งเป็นหลักประกัน

โปรดไปที่ วิธีการซื้อขายฟิวเจอร์สด้วยสินทรัพย์สเตกกิ้ง (PC) เพื่อดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับกลไกการทำงานของคุณสมบัตินี้

 

7.วิธีการโอนสินทรัพย์สเตกกิ้งไปยังบัญชีซื้อขายฟิวเจอร์ส

คุณจะต้องโอนสินทรัพย์สเตกกิ้งจากบัญชีการลงทุนไปยังบัญชีซื้อขายฟิวเจอร์สก่อนที่จะใช้เป็นหลักประกันการซื้อขายฟิวเจอร์ส โดยสินทรัพย์สเตกกิ้งที่จะโอนจะแสดงเป็น “Token-S” ตัวอย่างเช่น คุณร่วมการสเตกกิ้ง BTC และวางแผนที่จะใช้ BTC ที่สเตกกิ้งไว้เป็นหลักประกันการซื้อขายฟิวเจอร์ส คุณจะต้องโอนสินทรัพย์สเตกกิ้งที่แสดงเป็น “BTC-S” จากบัญชีการลงทุนไปยังบัญชีซื้อขายฟิวเจอร์ส

 

8.สินทรัพย์ที่แสดงเป็น “Token-S” ย่อมาจากอะไร

สินทรัพย์ที่แสดงเป็น “Token-S” แสดงถึงยอดคงเหลือของสินทรัพย์สเตกกิ้ง ระบบจะสร้างสินทรัพย์ที่เชื่อมโยงมาโดยอัตโนมัติเพื่อแสดงยอดคงเหลือของสินทรัพย์สเตกกิ้ง ผู้ใช้ต้องเลือกสินทรัพย์ที่แสดงในรูปแบบของ “Token-S” ในขณะที่โอนสินทรัพย์สเตกกิ้งจากบัญชีการลงทุนไปยังบัญชีซื้อขายฟิวเจอร์ส

 

9.ผู้ใช้สามารถตั้งค่าโหมดมาร์จิ้นสำหรับสินทรัพย์สเตกกิ้งที่ใช้เป็นมาร์จิ้นฟิวเจอร์สได้หรือไม่

ได้ โหมดมาร์จิ้นของสินทรัพย์สเตกกิ้งซึ่งใช้เป็นมาร์จิ้นฟิวเจอร์สจะขึ้นอยู่กับโหมดมาร์จิ้นที่ใช้โดยสถานะปัจจุบันในบัญชีฟิวเจอร์สของผู้ใช้เช่นเดียวกับมาร์จิ้นฟิวเจอร์สทั่วไป ผู้ใช้สามารถสลับระหว่างโหมดมาร์จิ้นเดี่ยวและโหมดครอสมาร์จิ้น ตัวอย่างเช่น หากคุณใช้โหมดครอสมาร์จิ้นสำหรับสถานะของคุณ สินทรัพย์สเตกกิ้งที่ใช้เป็นมาร์จิ้นฟิวเจอร์สจะอยู่ภายใต้โหมดครอสมาร์จิ้นเช่นกัน

 

10.ผู้ใช้สามารถหยุดการใช้สินทรัพย์สเตกกิ้งเป็นมาร์จิ้นฟิวเจอร์สได้ตลอดเวลาใช่หรือไม่

ใช่ ผู้ใช้สามารถหยุดการใช้สินทรัพย์สเตกกิ้งเป็นมาร์จิ้นฟิวเจอร์สได้ทุกเมื่อตามความต้องการในการซื้อขาย โดยเพียงแค่โอนสินทรัพย์สเตกกิ้ง (สินทรัพย์ที่แสดงเป็น “Token-S”) จากบัญชีซื้อขายฟิวเจอร์สกลับไปยังบัญชีการลงทุน อย่างไรก็ตาม หากคุณเปิดสถานะฟิวเจอร์สด้วยสินทรัพย์สเตกกิ้ง ส่วนหนึ่งของสินทรัพย์สเตกกิ้งอาจถูกใช้เป็นหลักประกันเพื่อรองรับสถานะดังกล่าวและจะไม่สามารถถูกถอนได้ ซึ่งหมายความว่าคุณจะไม่สามารถโอนสินทรัพย์สเตกกิ้งทั้งหมดของคุณกลับไปยังบัญชีการลงทุนของคุณในครั้งเดียว หากคุณไม่ได้เปิดสถานะใด ๆ ด้วยสินทรัพย์สเตกกิ้ง คุณสามารถรับสินทรัพย์สเตกกิ้งทั้งหมดของคุณคืนได้ทันทีโดยการโอนกลับไปยังบัญชีการลงทุนของคุณ

 

11.หากผู้ใช้ต้องการถอนคืนสินทรัพย์สเตกกิ้งของตนจากการซื้อขายฟิวเจอร์สล่ะ

หากผู้ใช้ต้องการถอนสินทรัพย์ที่สเตกกิ้งไว้ซึ่งใช้เป็นมาร์จิ้นฟิวเจอร์ส ผู้ใช้จะต้องโอนสินทรัพย์สเตกกิ้งจากบัญชีฟิวเจอร์สกลับคืนไปยังบัญชีการลงทุนก่อน จากนั้นจึงถอนโดยทำตามขั้นตอนการหยุดการสเตกกิ้งตามปกติ โปรดทราบว่าหากคุณเปิดสถานะฟิวเจอร์สด้วยสินทรัพย์สเตกกิ้ง ส่วนหนึ่งของสินทรัพย์สเตกกิ้งอาจถูกใช้เป็นหลักประกันเพื่อรองรับสถานะดังกล่าว และจะไม่สามารถถูกถอนคืนได้ทันที ซึ่งหมายความว่าคุณไม่สามารถโอนสินทรัพย์สเตกกิ้งทั้งหมดกลับไปยังบัญชีการลงทุนของคุณในครั้งเดียว หากคุณไม่ได้เปิดสถานะใด ๆ ด้วยสินทรัพย์สเตกกิ้ง คุณสามารถโอนสินทรัพย์สเตกกิ้งทั้งหมดของคุณกลับไปยังบัญชีการลงทุนของคุณ

 

12.มีค่าธรรมเนียมเพิ่มเติมสำหรับการยกเลิกการสเตกกิ้งทันทีจากการดำเนินการโดยอัตโนมัติของระบบเมื่อเกิดการบังคับชำระบัญชีหรือไม่

ไม่มี จำนวนของสินทรัพย์สเตกกิ้งที่สามารถใช้เป็นหลักประกันสำหรับการซื้อขายฟิวเจอร์สนั้นผูกกับปัจจัยส่วนลดของฟิวเจอร์สที่จะซื้อขายกับสินทรัพย์สเตกกิ้ง กล่าวคือ จำนวนของสินทรัพย์สเตกกิ้งและผลตอบแทนจากการสเตกกิ้งที่สามารถใช้เป็นมาร์จิ้นฟิวเจอร์สรวมกัน = สินทรัพย์สเตกกิ้ง (รวมผลตอบแทนจากการสเตกกิ้ง) * ราคาดัชนีของสินทรัพย์ * ปัจจัยส่วนลด เนื่องจากปัจจัยส่วนลดถูกนำมาพิจารณาในส่วนของค่าธรรมเนียมการยกเลิกสเตกกิ้งทันที เมื่อคำนวณจำนวนสินทรัพย์สเตกกิ้งที่สามารถใช้เป็นมาร์จิ้นฟิวเจอร์ส ผู้ใช้จึงไม่จำเป็นต้องจ่ายค่าธรรมเนียมเพิ่มเติมสำหรับการยกเลิกการสเตกกิ้งทันทีที่ดำเนินการโดยระบบโดยอัตโนมัติเมื่อเกิดการบังคับชำระบัญชี

 

13.สินทรัพย์สเตกกิ้งที่โอนไปยังบัญชีฟิวเจอร์สสามารถโอนต่อไปยังบัญชีมาร์จิ้นได้หรือไม่

ได้ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับว่าสินทรัพย์สเตกกิ้งรองรับการเป็นหลักประกันสำหรับการซื้อขายทั้งมาร์จิ้นและฟิวเจอร์สหรือไม่ ปัจจุบัน AscendEX ได้เปิดให้สามารถใช้สินทรัพย์สเตกกิ้งเป็นหลักประกันสำหรับการซื้อขายทั้งมาร์จิ้นและฟิวเจอร์ส ซึ่งหมายความว่าสามารถโอนสินทรัพย์สเตกกิ้งระหว่างบัญชีการลงทุน บัญชีมาร์จิ้น และบัญชีฟิวเจอร์สได้ หากสินทรัพย์สเตกกิ้งที่โอนรองรับการเป็นหลักประกันสำหรับการซื้อขายทั้งมาร์จิ้นและฟิวเจอร์ส ก็สามารถถูกโอนไปมาระหว่างบัญชีฟิวเจอร์สและบัญชีมาร์จิ้นได้อย่างง่ายดาย